วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เพลง คณิตศาสตร์ ( ห้องของฉัน )

เด็กเอ๋ยเด็กดี จงบอกครูซิห้องนี้มีกี่คน ( ซำ )
นับพวกเด็กๆทุกคน นับพวกเด็กๆทุกคน
เด็กน้อยหน้ามนบอกมีอีกคน ให้เด็กๆๆลองนับดูซิ ( ซำ )
1.....2.....3.....4.....5..... 6.....7.....8.....9.....10.....

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

กิจกรรม

กิจกรรมคณิตศาสตร์
หน่วยไข่
กิจกรรมไข่หรรษา
วิธีดำเนินกิจกรรม
การนับ
1. นับจำนวนไข่ว่ามีกี่ฟอง
2. จัดประเภทและนับจำนวนไข่ว่ามีกี่ชนิด
3. นับตะกร้าที่ใส่ไข่ว่ามีกี่ใบ
4. นับสีของเปลือกไข่ว่ามีกี่สี
5.ให้เด็กนับรูปทรงของเปลือกไข่
ตัวเลข
1. นำตัวเลขตามจำนวนของไข่ที่นับได้มาใส่ในตะกร้าทั้งหมด
2. นำตัวเลขมาใส่ตามจำนวนของสีเปลือกไข่
3. ครูวางไข่ในตะกร้าแล้ว ให้เด็กหยิบตัวมาวางตามจำนวนของไข่แต่ละชนิด
การจับคู่
1. ครูให้เด็กจับคู่ตามสีของเปลือกไข่
2. ครูให้เด็กจับคู่ตามขนาดของไข่
3. ครูให้เด็กจับคู่ไข่ตามตัวเลขที่ครูกำหนด
การจัดประเภท
1.ให้เด็กบอกประเภทสี....ของเปลือกไข่
2.ให้เด็กบอกประเภทรูปทรง....ของไข่
3.ให้เด็กบอกประเภทไข่ที่มีขนาดเล็ก
4.ให้เด็กบอกไข่ที่มีรูปทรงกลม
การเปรียบเทียบ
1.เด็กสามารถเปรียบเทียบน้ำหนักของไข่
2.เด็กสามารถเปรียบเทียบผิวของเปลือกไข่
3.เด็กสามารถเปรียบเทียบขนาดของไข่แดง
4.เด็กสามารถเปรียบเทียบสีของไข่แดง
การจัดลำดับ
1.เด็กสามารถเรียงลำดับไข่จากเล็กไปใหญ่
2.เด็กสามารถเรียงลำดับตามน้ำหนักของไข่
รูปทรงและเนื้อที่
1.ให้เด็กสังเกตุรูปทรงและบอกว่าไข่ว่ามีรูปทรงกี่ประเภท
2.ให้เด็กวัดเส้นรอบรูปของเปลือกไข่(ดัวยลวดกำมะยี่)
3.ให้เด็กหาภาชนะที่มีขนาดเหมาะสมมาใส่ไข่ตามขนาดของไข่
การวัด
1.ให้เด็กนำไม้บรรทัดมาวัดขนาดของไข่(ตามแนวตั้ง)
2.ให้เด็กวัดรอบนอกของเปลือกไข่ดัวยลวดกำมะยี่โดยการม้วนลวดรอบเปลือกไข่แล้วนำมาวัด
เซท
1.แผงไข่
2.ขนาด
3.รูปทรง
4.พื้นผิว
5.น้ำหนัก
6.สี
เศษส่วน
1.ให้เด็กแบ่งไข่ 2 ตะกร้าให้เท่าๆกัน
2.ให้เด็กแบ่งแยกไข่แต่ละชนิดออกจากกัน
3.ให้เด็กแบ่งไข่ดาวออกเป็นสองส่วนแล้วกินหนึ่งส่วนเรียกว่ากินไปครึ่งหนี่ง
4.ให้เด็กแบ่งไข่ดาวตามจำนวนของเพื่อน
การทำตามแบบหรือลวดลาย
1.สี
2.ขนาด
3.รูปทรง
4.พื้นผิว
5.น้ำหนัก
การอนุรักษ์
1.มีไข่ชนิดเดียวกันอยู่สองฟองใบที่หนึ่งทำไข่ต้ม ใบที่สองทำไข่ดาวแล้วให้เด็กเลือกไข่ที่คิดว่ามีปริมาณมากกว่า
2.ให้เด็กสังเกตและบอกว่าไข่ที่ใส่ในถ้วยหรือไข่ที่ใส่ในจานมีปริมาณมากกว่ากัน

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552

วันนี้อาจารย์ สอนเกี่ยวกับการวางแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิศาสตร์ ในแต่ละกลุ่มมีกี่คนต้องสอนตามวัน โดยที่
คนที่ 1 สอนเกี่ยวกับลักษณะของหน่วย โดยใช้เกณฑ์อย่างเดียว เช่น สี รูปร่าง ขนาดโดยมีการการใช้คำถาม เช่น เด็กๆดูชิคะว่ามีลักษณะเป็นยังไงบ้างคะ
คนที่ 2 สอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของหน่วยที่ทำ โดยเราอาจมีการทบทวนความรู้เดิมต่อเนื่องจากที่เราสอนเมื่อวาน อาจจะใช้เพลง นิทาน คำคล้องจอง หรืออาจจะใช้คำถามเช่น เมื่อวานนี้เราเรียนเกี่ยวกับอะไรเด็กๆจำได้หรือเปล่ามีอะไรบ้างคะ
คนที่ 3 สอนเกี่ยวกับประโยชน์ของหน่วยที่ทำ ว่ามีประโยชน์ยังไงบ้าง อาจจะมีการเล่าเป็นนิทานที่พูดถึงประโยชน์ หรืออาจจะนำภาพมาไห้ดูเกี่ยวกับหน่วยที่เราทำ

นิทานคณิตศาสตร์

กาลครั้งหนึ่ง มีครอบครัวหนูอยู่5ตัวมีแม่และลูกอีก4ตัว พากันเดินไปหาอาหาร ที่ตลาดเป็นประจำ
แต่วันนี้ แม่หนูได้ออกไปหาอาหารแค่ตัวเดียว โดยปล่อยให้ลูกๆวิ่งเล่นที่รังตามลำพัง
แต่มีแมวอยู่ตัวหนึ่งเดินผ่านมาพอดี แล้วแมวก็มองเห็นลูกหนูทั้ง4ตัว
ลูกหนู2ตัวเห็นแมวแล้วหนีไป อีก2ตัวมองไม่เห็นแมว
แมวจึงวิ่งไปตระคลุบลูกหนูได้1ตัว ส่วนอีกตัวที่เหลือก็วิ่งไปหาพวกพี่ๆ แมวจึงเอาลูกหนูที่จับได้กลับบ้านของตนเอง
ตกเย็น! แม่หนูกลับมาถึงรังไม่เห็นลูกหนู1ตัวจึงถามตัวอื่นๆว่า"น้องหายไปไหน" พวกพี่ๆจึงบอกว่า"น้องเล็กโดนแมวจับตัวไป"แม่หนูจึงออกตามหาลูกหนู หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ แม่หนูร้องไห้ เหนื่อย สายตัวแทบขาด ในขณะที่แม่หนูเหนื่อย ใกล้จะเป็นลมหมดสติ ทันใดนั้นแม่หนูก็เหลือบมองไปเห็นแมวกำลังจะกินลูกหนูของตนเอง จึงเข้าไปช่วยลูกหนูออกมาทัน แล้วแม่หนูก็พาลูกกลับมารังได้สำเร็จ
แล้วแม่หนูก็นับลุกหนูว่าอยู่ครบหรือไม่ เอาหล่ะน่ะ! แม่จะเริ่มนับแล้วน่ะ.......... 1-2-3-4 แม่หนูนับลูกครบแล้วก็ดีใจที่ลูกๆอยู่ครบ หลังจากวันนั้น ครอบครัวหนูก็ไม่เคยแยกห่างจากกันเลย

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วัน พฤหัสบดี ที่ 18 ธันวาคม 2551

สิ่งที่เรียนวันนี้ หลักการสอนคณิตศาสตร์
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณืที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง
3.มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอด
5.ใข้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ของเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7.รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8.ใช้วิธีสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9.ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฎิบัติการจริงๆเกี่ยวกับตัวเลข
10.วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทันทีที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11.บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ใขปรับปรุง
12.คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว13.เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก
14.ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวยลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งนั้นแล้ว
การเตรียมพร้อมให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์นั้นจะต้องฝึกให้เด็กได้มีพัฒนาการทางสายตาก่อนเป็นอันดับแรกถ้าหากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกจัดแบ่งประเภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับคณิตศาสตร์ได้

วัน พฤหัสบดี ที่ 20 พฤจิกายน 2551

สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้ คือ
1. ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์
2. จัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับเรื่องที่จะสอน
3. ยึดหลักพัฒนาการของเด็กในการคิดจัดกิจกรรม
4. หลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
1. การนับ
2. ตัวเลข
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่
8. การวัด คือ การหาค่าปริมาณ โดยใช้เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการ เช่น ให้เด็กต่อตัว ต่อแถว
9. เซท
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
12. การอนุรักษ์ คือ การคิดที่ใช้เหตุผล เช่น แก้วน้ำทรงสูง กับแก้วทรงเตี้ย บรรจุน้ำปริมาณเท่กัน ซึ่งเด็กอายุ 4 ปี ส่วนใหญ่จะตอบว่า น้ำในแก้วน้ำทรงสูงมากกว่าน้ำในแก้วทรงเตี้ย แต่เด็กอายุ 6 ปี จะตอบว่า น้ำในแก้วน้ำทรงเตี้ยมากกว่าน้ำในแก้วทรงสูง เพราะเด็กในช่วงอายุนี้จะตอบด้วยความคิดเชิงเหตุผล