วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วัน พฤหัสบดี ที่ 18 ธันวาคม 2551

สิ่งที่เรียนวันนี้ หลักการสอนคณิตศาสตร์
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณืที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง
3.มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอด
5.ใข้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ของเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7.รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8.ใช้วิธีสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9.ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฎิบัติการจริงๆเกี่ยวกับตัวเลข
10.วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทันทีที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11.บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ใขปรับปรุง
12.คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว13.เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก
14.ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวยลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งนั้นแล้ว
การเตรียมพร้อมให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์นั้นจะต้องฝึกให้เด็กได้มีพัฒนาการทางสายตาก่อนเป็นอันดับแรกถ้าหากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกจัดแบ่งประเภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับคณิตศาสตร์ได้

วัน พฤหัสบดี ที่ 20 พฤจิกายน 2551

สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้ คือ
1. ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์
2. จัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับเรื่องที่จะสอน
3. ยึดหลักพัฒนาการของเด็กในการคิดจัดกิจกรรม
4. หลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
1. การนับ
2. ตัวเลข
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่
8. การวัด คือ การหาค่าปริมาณ โดยใช้เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการ เช่น ให้เด็กต่อตัว ต่อแถว
9. เซท
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
12. การอนุรักษ์ คือ การคิดที่ใช้เหตุผล เช่น แก้วน้ำทรงสูง กับแก้วทรงเตี้ย บรรจุน้ำปริมาณเท่กัน ซึ่งเด็กอายุ 4 ปี ส่วนใหญ่จะตอบว่า น้ำในแก้วน้ำทรงสูงมากกว่าน้ำในแก้วทรงเตี้ย แต่เด็กอายุ 6 ปี จะตอบว่า น้ำในแก้วน้ำทรงเตี้ยมากกว่าน้ำในแก้วทรงสูง เพราะเด็กในช่วงอายุนี้จะตอบด้วยความคิดเชิงเหตุผล

วันพฤหัสบดี ที่ 27 พฤจิกายน 2551

นักศึกษาทุกคนที่ไปสังเกตการณ์ให้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ กิจกรรมคณิตศาสตร์ และการจัดสภาพแวดล้อมลงในบล็อกเนื้อหาสาระที่ได้วันนี้มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
1. คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
2. ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
3. การวัดเรื่องสัปดาห์ เช่น หนึ่งสัปดาห์มีกี่วันลักษณะหลักสูตรที่ดีมีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
1. เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวบยอด
2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช้การท่องจำ
3.แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
4.ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
5.ส่งเสริมให้เด็กเกิดความรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
6.เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
7.เปิดให้เด็กค้นคว้าสำรวจ ปฎิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง